พรรณไม้ในป่าชายเลน
พรรณไม้ในป่าชายเลนมีลักษณะพิเศษหลายประการ
เนื่องจากต้อง “ปรับตัว”
ตั้งแต่โครงสร้างภายในราก ลำต้น ใบ ดอก จนถึงผล
เพื่อให้สามารถอยู่ในสภาพดินเค็ม และแช่ขังอยู่ในน้ำทะเลเป็นเวลานานได้
พรรณไม้ในป่าชายเลนมีลักษณะพิเศษหลายประการ
เนื่องจากต้อง “ปรับตัว”
ตั้งแต่โครงสร้างภายในราก ลำต้น ใบ ดอก จนถึงผล
เพื่อให้สามารถอยู่ในสภาพดินเค็ม และแช่ขังอยู่ในน้ำทะเลเป็นเวลานานได้
คุณลักษณะพิเศษของพรรณไม้ป่าชายเลน
ใบ
มักจะมี “ต่อมน้ำเกลือ(salt gland)”
อยู่บริเวณ “ใบ”
ทำหน้าที่ควบคุมระดับความเข้มข้นของเกลือ
ไม่ให้มีเกลือมากเกินไป ที่พบเห็นได้ง่าย ๆ
ได้แก่ ต้นแสม ลำพู ลำแพน
เหงือกปลาหมอ เป็นต้น
ซึ่งมีลักษณะหนา อวบน้ำ แผ่นเป็นมัน
ราก
รากของพืชชายเลนจะมีการกรับตัวให้มีสภาพ
“ทนแรงคลื่น แรงลม และยึดความเหลวของดินเลนได้ดี”
บางชนิดมากชอนไชแผ่ไปได้กว้าง
บางชนิดมีรากโผล่ขึ้นพ้นผิวดิน
บางชนิดใช้รากเป็นแหล่งอาหาร
บางชนิดมีรากอากาศ
พรรณไม้ชายเลนบางชนิดได้วิวัฒนาการให้ผลมีลักษณะเป็นฝัก
ซึ่งสามารถงอกได้เองตั้งแต่อยู่บนต้นแม่
และให้ฝักมีรูปร่างแหลม
เพื่อให้เหมาะกับการปักลงดินได้ง่าย
เช่น ฝักโกงกาง แสม โปรง เป็นต้น
ต้นอ่อน
จะมีน้ำหนักเบา ทำให้สามารถลอยน้ำได้
แต่เมื่ออุ้มน้ำจะจมน้ำ และเกาะติดผิวดิน
ทำให้กระจายพันธุ์ไปในที่ต่าง ๆ ได้รวดเร็ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น