วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์







พืช สัตว์ มนุษย์ จะมีโครงสร้างพื้นฐานเล็ก ๆ เพื่อจะก่อให้เกิดลักษณะของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด โดยโครงสร้างเล็กๆ นั้นจะมารวมกันมีกิจกรรมต่างๆร่วมกันจนก่อให้เกิดลักษระของสิ่งมีชีวิตต่างๆ โครงสร้างที่กล่าวถึงนี้จัดว่ามีขนาดเล็กที่สุด ซึ่งเราเรียกว่า เซลล์ (cell) เซลล์เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต เซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีรูปร่างลักษณะขอบเขต และโครงสร้างของเซลล์ ซึ่งโครงสร้างบางส่วน จะสามารถระบุได้ว่าเซลล์นั้นเป็นลักษณะของสิ่งมีชีวิตชนิดใด










ส่วนประกอบของเซลล์พืช
1.ผนังเซลล์(Cell wall)เป็นส่วนที่อยู่นอกสุดของเซลล์พืช ประกอบด้วยสสารพวกเซลลูโลสทำหน้าที่เสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่เซลล์พืช 2.เยื่อหุ้มเซลล์ (cell Membrane) เป็นเยื่อบาง ๆ ทำหน้าที่ควบคุมการผ่านเข้าออกของสาร เช่น น้ำ อากาศ และสารละลายต่าง ๆระหว่างภายนอกเซลล์กับภายในเซลล์ 3.ไซโทรพลาสซึม (Cytoplasm) เป็นของเหลวภายในเซลล์ที่ไหลไปมาาได้ มีสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ปนอยู่เช่น ส่วนประกอบต่าง ๆ ของเซลล์ อาหารก๊าซ และของเสียต่างๆ
โดยทั่วไป เซลล์สัตว์จะมีรูปร่าง ลักษณะแตกต่างไปตามชนิดของอวัยวะ แต่จะมีลักษระร่วมกันดังนี้ เยื่อหุ้มเซลล์ ไซโทพลาสซึม นิวเคลียส ในเซลล์สัตว์จะไม่พบผนังเซลล์และคลอโรพลาสต์













พืช สัตว์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ต่างประกอบไปด้วยเซลล์หลาย ๆ เซลล์ที่มารวมกัน และทำหน้าที่ร่วมกัน กล่าวคือ การรวมกันของเซลล์ก่อให้เกิดเนื้อเยื่อ หลายเนื้อเยื่อรวมกันก่อให้เกิดอวัยวะ หลายอวัยวะรวมกันก่อให้เกิดระบบอวัยวะและร่างกายของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด
สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะดังกล่าวมานี้เรียกว่า สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เช่น พืชสัตว์ มนุษย์ แต่สิ่งมีชีวิตบางชนิดที่มีเพียงเซลล์เดียวแล้วสามารถดำรงชีวิต มีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การกินอาหาร สืบพันธุ์ ขับถ่ายและเคลื่อนที่ได้ เรียกสิ่งมีชีวีตชนิดนี้ว่าสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่นแบคทีเรีย อะมีบา พารามีเซียม
จากความรู้ที่นักเรียนได้เรียนผ่านมาแล้วนั้น สามารถสรุปได้ว่าสิ่งมีชีวิตทุกชนิดประกอบไปด้วยเซลล์ โดยมีทั้งสิ่งมีชีวิตเซลลืเดียวและสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ จนทำให้เกิดลักษณะรูปร่างของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด เช่น พืช สัตว์ มนุษย์ และสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต คือ อาหาร เซลล์ก็เช่นเดียวกัน เซลล์ก็มีชีวิต อาหารของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดก็ต้องเป็นอาหารของเซลล์ด้วย แต่เนื่องจากเซลล์มีขนาดเล็ก



ส่วนประกอบของพืช

วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

หลักการแต่งนิทาน

การเขียนนิทาน เป็นเรื่องของจินตนาการ ผู้เขียนจะต้องมีศิลปะในการเขียนเพื่อให้ความสนุกสนาน ปลูกฝังคุณธรรม คติแง่คิดมุมมองต่างๆแก่ผู้อ่าน..


องค์ประกอบของนิทาน

1. แนวคิด:แก่นสารหรือสาระที่จุดประกายให้เกิดเรื่องราว
เช่น แม่กระต่ายผู้รักลูกสุดหัวใจยอมสละชีวิตตัวเองเพื่อแลกกับลูก
หรือ ลูกสี่คนคิดปลูกฟักทองยักษ์ให้แม่หรือ ลูกไก่ 7 ตัวที่ยอมตายตามแม่
หรือ โจรใจร้ายชอบทำร้ายผู้หญิงวันหนึ่งกลับทำร้ายแม่ตัวเองโดยไม่ตั้งใจ
หรือ ลูกหมูสามตัวไม่เชื่อแม่ทำให้เป็นเหยื่อของหมาป่า

2. โครงเรื่องของนิทาน: โครงเรื่องและเนื้อหาต้องไม่ซับซ้อน สั้นๆ กะทัดรัด
เป็นลักษณะเรื่องเล่าธรรมดา มีการลำดับเหตุการณ์ก่อนหลัง


3. ตัวละคร: ขึ้นอยู่กับจินตนาการของผู้เขียน เช่น คน สัตว์ เทพเจ้า แม่มด เจ้าชาย นางฟ้า..
**แต่ไม่ควรมีตัวละครมากเกินไป


4. ฉาก: สถานที่เกิดเหตุ..ในป่า กระท่อมร้าง ปราสาท บนสวรรค์ แล้วแต่ความคิดสร้างสรรค์ของผู้เขียน


5. บทสนทนา: การพูดคุยของตัวละคร ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย กระชับ สนุกสนาน
**ไม่ใช้คำหยาบ

6. คติสอนใจ: เมื่อจบนิทาน ผู้อ่านควรได้แง่คิด คติสอนใจเพื่อเป็นการปลูกฝังคุณธรรมกล่อมเกลาจิตใจ

วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

พรรณไม้ในป่าชายเลน






พรรณไม้ในป่าชายเลน
พรรณไม้ในป่าชายเลนมีลักษณะพิเศษหลายประการ
เนื่องจากต้อง “ปรับตัว”
ตั้งแต่โครงสร้างภายในราก ลำต้น ใบ ดอก จนถึงผล

เพื่อให้สามารถอยู่ในสภาพดินเค็ม และแช่ขังอยู่ในน้ำทะเลเป็นเวลานานได้







คุณลักษณะพิเศษของพรรณไม้ป่าชายเลน




ใบ
มักจะมี “ต่อมน้ำเกลือ(salt gland)”
อยู่บริเวณ “ใบ”
ทำหน้าที่ควบคุมระดับความเข้มข้นของเกลือ
ไม่ให้มีเกลือมากเกินไป ที่พบเห็นได้ง่าย ๆ
ได้แก่ ต้นแสม ลำพู ลำแพน
เหงือกปลาหมอ เป็นต้น
ซึ่งมีลักษณะหนา อวบน้ำ แผ่นเป็นมัน




ราก



รากของพืชชายเลนจะมีการกรับตัวให้มีสภาพ
“ทนแรงคลื่น แรงลม และยึดความเหลวของดินเลนได้ดี”
บางชนิดมากชอนไชแผ่ไปได้กว้าง
บางชนิดมีรากโผล่ขึ้นพ้นผิวดิน
บางชนิดใช้รากเป็นแหล่งอาหาร
บางชนิดมีรากอากาศ













ผล



พรรณไม้ชายเลนบางชนิดได้วิวัฒนาการให้ผลมีลักษณะเป็นฝัก
ซึ่งสามารถงอกได้เองตั้งแต่อยู่บนต้นแม่
และให้ฝักมีรูปร่างแหลม
เพื่อให้เหมาะกับการปักลงดินได้ง่าย
เช่น ฝักโกงกาง แสม โปรง เป็นต้น






ต้นอ่อน




จะมีน้ำหนักเบา ทำให้สามารถลอยน้ำได้
แต่เมื่ออุ้มน้ำจะจมน้ำ และเกาะติดผิวดิน
ทำให้กระจายพันธุ์ไปในที่ต่าง ๆ ได้รวดเร็ว